วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ฟ้าทลายโจร
ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชล้มลุก สูง 1-2 ศอก ลำต้นเหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมาก ใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกแหลมเล็ก สีขาว มีรอยกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เม็ดในสีน้ำตาลอ่อน ปลูกโดยใช้เมล็ดขึ้นง่าย
ฟ้าทะลายโจร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata Wall. ex Nees.
ฟ้าทะลายโจร ในชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ฟ้าทลาย น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) หญ้ากันงู (สงขลา) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม (โพธาราม) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ใบ ซึ่งมีรสขมเป็นสรรพคุณทางยาไทย
ประโยชน์ทางยาของฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่ประเทศจีนให้ความสนใจ ค้นคว้าข้อมูล และพันฒนารูปแบบมาก มีฤทธิ์รักษาโรคติดเชื้อได้หลายโรค สารสำคัญคือ แอนโดรแกรฟโฟไลด์ (andrographolide) และได้ปรับปรุงเป็นยาเม็ด และยาฉีด ในประเทศไทย มีผู้สนใจมากขึ้น และเริ่มมีการใช้ในโรงพยาบาล อำเภอหลายแห่ง ที่สำคัุญใช้รักษาอาการท้ิองเดิน และอาการเจ็บคอ มีวิธี 2 แบบ คือ
1. ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด 1-3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก
2. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทะลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอาการโปร่ง ห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำเป็นเม็ดยาลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร และก่อนนอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น